วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการใช้ Autoclave



เทคนิคการใช้ Autoclave




      1. ถ้าต้องการนึ่งฆ่าเชื้อโดยใช้เวลาสั้นลง ให้ใช้ความร้อน 134 องศาเซลเซียส แรงดันไอน้ำ 30 ปอนด์ ใช้เวลานึ่ง 7 นาที ควรใช้ความร้อนระดับนี้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
      2. สำหรับอาหารเหลวที่มีน้ำตาลอยู่เป็นปริมาณมาก การนึ่งฆ่าเชื้อที่ความดันสูงอาจทำให้น้ำตาลไหม้ ดังนั้น การนึ่งฆ่าเชื้ออาหารเหลวที่มีน้ำตาลปริมาณมากจึงควรใช้ความร้อนในระดับที่ต่ำลงแต่ใช้เวลาในการนึ่งมากขึ้น
       3. การบรรจุของนึ่งควรให้มีช่องว่างภายในห้องนึ่งเหลือประมาณ 1 ใน 3 ไม่ใส่แออัดจนเกินไป เพราะจะทำให้ให้แรงดันไอน้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ และควรติดเทปทดสอบการฆ่าเชื้อ (Autoclave tape) ลงไปด้วย เพื่อตรวจสอบสภาวะการฆ่าเชื้อว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ โดยเมื่อผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เทปจะมีแถบสีเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลเข้ม
       4. ในช่วงของการนึ่งฆ่าเชื้อ สภาวะของห้องนึ่งทั้งอุณหภูมิ แรงดันไอน้ำ และระยะเวลาในการนึ่ง ควรเป็นไปตามที่กำหนดหรือคงที่ตลอดระยะเวลาในการนึ่ง
       5. ในกรณีที่ใช้เครื่อง Autoclave ระบบ Gravity แรงดันไอน้ำต้องสามารถไล่อากาศภายในห้องนึ่งออกได้หมด เพราะหากมีอากาศหลงเหลืออยู่จะทำให้ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อมากกว่าเดิมถึง 10 เท่า และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทดสอบสปอร์ไม่ผ่าน
       6. การนึ่งฆ่าเชื้อของเสียที่ติดเชื้อควรใส่ของเสียไว้ใน Biohazard Bag
       7. ควรตรวจสอบระดับน้ำของ autoclave ก่อนการนึ่งฆ่าเชื้อทุกครั้ง เพราะหากระดับน้ำน้อยเกินไปขณะทำการนึ่งฆ่าเชื้อจะทำให้น้ำแห้ง และเป็นผลให้เครื่องเสียหายได้
       8. ของที่นึ่งแล้ว หากยังเปียกชื้นอยู่ห้ามนำออกจากห้องนึ่ง ควรเปิดประตูห้องนึ่งไว้ 1/4 นิ้ว เพื่อให้ไอน้ำระเหยออก โดยไม่ต้องกังวลว่าอากาศภายนอกจะเข้ามาในห้องนึ่ง เพราะไอน้ำและความร้อนจากภายในห้องนึ่งจะพุ่งออกมาช่วยกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าสู่ห้องนึ่ง ไอน้ำและความร้อนที่ระบายออกสู่ภายนอกจะนำความชื้นจากของที่นึ่งออกไปด้วย ทำให้เมื่อระบายไอน้ำออกหมดแล้วของที่นึ่งก็จะแห้ง ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดมากับอากาศภายนอกและเข้าสู่ห้องนึ่งภายหลังจึงไม่มีผลต่อของที่นึ่งแล้ว 
        



Biohazard bag และ biohazard tape   




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น